facebook twitter twitter


โรงงานขนมเค่งติ้น เราร่วมสืบสานประเพณีสำคัญ ถ่ายทอดเรื่องราวการกินอยู่ของชาวภูเก็ตตลอดมา

เทศกาลผ้อต่อ

   เป็นประเพณีโบราณของการผสมผสานความเชื่อระหว่างลัทธิเต๋ากับศาสนาพุทธนิ การมหายานที่ชาวจีนในจังหวัดภูเก็ตปฏิบัติสืบทอดกันมานานมีชื่อเรียกดั้ง เดิมว่า "เทศกาลอุลลัมพน" แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าเทศกาล ผ้อต่อ
ซึ่งคำว่า ผ้อต่อ เป็นคำกร่อนมาจากคำว่า ผ้อต่อ จ่งเซ้ง ตามสำเนียงชาวจีนฮกเกี้ยน แปลว่า กิจกรรมโปรดสัตว์ให้หลุดพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์โดยทั่วกันและยังเรียกว่า "ซีโกวโจ่ย" แปลว่า เทศกาลอุทิศส่วนบุญให้วิญญาณโดดเดี่ยวไร้ญาติโดยมีการจัดพิธีทิ้งกระจาด (ทิ้งทาน) ให้คนยากจน ซึ่งถือเป็นการอุทิศส่วนบุญให้วิญญาณไร้ญาติพร้อมกันด้วย ซึ่งคล้ายกับประเพณีซิงเปรตของไทยนอกจากนี้ ศาสนาเต๋าของจีน และศาสนาพุทธนิกายมหายานต่างถือว่า วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน เป็นวันสารทจีน โดยศาสนาเต๋าเชื่อว่า วันนี้เป็นวันประสูตรของ "เต่ ก้วน ไต่ เต่" ซึ่งเป็นพระที่คอยควบคุมสอดส่องความประพฤติชั่วดีของมนุษย์ ในวันนี้ชาวจีนจะต้องเตรียมข้าวปลาอาหารมาเซ่นไหว้เหล่าดวงวิญญาณที่อดอยาก ด้านศาสนาพุทธก็เชื่อว่าวันนี้เป็นวันที่เหล่าพุทธศาสนิกชนจะนำถ้วยชามพาชนะ ต่างๆ ใส่ข้าวปลาอาหารมาถวายแต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้พระองค์ทรงปลดความอดอยากของวิญญาณผู้ล่วงลับ

ผ้อต่อ หมายถึง การอนุเคราะห์ผู้อื่นให้ล่วงพ้นทุกข์หรือพ้นจากสิ่งกีดขวางเมื่อนำมาใช้กับ การบำเพ็ญกุศลแก่วิญญาณบรรพบุรุษจึงหมายถึงการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติ พี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วลูกหลานต้องแสดงความกตัญญูและสำนึกในบุญคุณของท่าน เหล่านั้นโดยจัดอาหารคาวหวานเพื่อเลี้ยงดูหรือเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยเครื่อง เซ่นต่างๆ และ ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้ง เป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้ด้วยขนมรูปเต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือเป็นกุศลที่ ยิ่งใหญ่ เหมือนกับการทำบุญเดือนสิบของไทย

 

ทางโรงงานขนมเค่งติ้น รับทำขนมเต่า หลายขนาดตามความต้องการของลูกค้า